top of page

สรุงองค์ความรู้ภาษาไทย

 พยางค์ = เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ มีความหมายหรือไม่ก็ได้
 

     ลักษณะของพยางค์
        เสียงพยัญชนะต้น + เสียงสระ + เสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะสะกด
       
. พยางค์หนัก สมบูรณ์ ออกเสียงได้ลำพัง เช่น ขวา เปลี่ยน เสื้อ
       
. พยางค์เบา ต้องมีพยางค์หนักมารับข้างท้าย เช่น สะดวก พนม วิชา ฤดี กุหลาบ
       
. พยางค์ลดน้ำหนัก แปรเสียงพยางค์หนักให้เบาลง เช่น คุณจะมาพูดยังงี้ได้ยังไง ช่างไม่ถนอมน้ำใจกัน
       
. พยางค์เน้นหนัก เพื่อเปรียบเทียบหรือเพิ่มความสนใจ เช่น ผมสั่งกาแฟไม่ใช่ชา
 

   คำ = เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย

     ลักษณะของคำ
        เสียง + ความหมาย อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
 

การสร้างคำ

   คำสมาส เป็นการสร้างคำตามหลักไวยากรณ์บาลีสันสกฤต
 

     ลักษณะของคำสมาส
       . เกิดจากการนำคำมูลที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน
       
. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าต้องไม่ประวิสรรชนีย์หรือเป็นตัวการันต์
       
. คำที่มีความหมายหลัก (คำตั้ง) อยู่หลัง และคำขยายอยู่หน้า แปลจากคำหลังไปคำหน้าแต่คำสมาสบางคำ  เรียงคำตั้งไว้หน้า โดยคำตั้งต้องไม่ประวิสรรชนีย์ ไม่เป็นตัวการันต์ และต้องออกเสียงพยางค์ท้ายคำตั้ง
       
. พยางค์ท้ายของคำหน้ามักออกเสียงสระอะ แม้ไม่มีรูปสระกำกับ
       
. คำว่า พระ ที่มาจากคำว่า วร ในภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาส 

 

คำประสมและกลุ่มคำที่มีลักษณะคล้ายคำสมาส
 
 ๑. ไม่ใช่คำจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น ราชวัง (วัง คำไทย) พระธำมรงค์ (ธำมรงค์ คำเขมร)
   
. คำตั้งอยู่หน้าคำขยายถึงแม้มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เช่น การแพทย์ คดีธรรม ผลบุญ ผลผลิต

คำสมาสมีสนธิ เป็นการนำคำสมาสมาเชื่อม (สนธิ) หรือกลมกลืนเสียงสระ

 

หลักการสนธิ
   . มีตัว อ เป็นพยัญชนะต้นของคำหลัก
   
. ใช้สระพยางค์ท้ายของคำหลังและตัดสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเช่น นิรันดร (นิร+อันดร)
 

 . ใช้สระพยางค์ต้นของคำ

, อิ เป็น เอ, อุ เป็น อู หรือ โอ แคำหน้า เช่น พงศาวดาร (พงศ+อวตาร) นเรศวร (นร+อิศวร) ราชูทิศ (ราช+อุทิศ) นโยบาย (นย+อุบาย)

 . เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าจาก อิ อี เป็น ย, อุ อู เป็น ว ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูป หรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ อี หรือ อุ อู อย่างสระพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น กิตยากร (กิตติ+อากร) ธาตวากร


 

๕. สมาสมีสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระอิ อี ท้ายพยางค์เป็น ย แต่ตัด อิ อี ทิ้งไปเช่น ราชินูปถัมภ์ (ราชินี+อุปถัมภ์) ศักดานุภาพ (ศักดิ+อานุภาพ)

สรุป
     พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ ส่วนคำ เป็นเสียงที่มีความหมาย อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ คำสมาสเป็นวิธีการสร้างคำจากคำภาษาบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น

Heading 1

bottom of page